Thursday, October 11, 2007
สรุป Understanding
นักการตลาดที่ดี
Tuesday, October 2, 2007
อนาคต
Tuesday, September 18, 2007
จินตนาการ
ตัวอย่าง ตัวเองเป็นคนที่ชอบมองขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วมองก้อนเมฆเป็นรูปตสัตว์ตัวนั้นบ้าง ตัวนี้บ้าง เช่น มองเป็นรูปสุนัขแต่ว่ามีงวงช้างบ้าง พอเอามาผสมกัน มันก็เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่ง แล้วพอมองก้อนนู้นก้อนนี้มันก็มองเป็นรูปร่างต่างๆ พอเอามารวมกัน คิดจนเป็นเรื่องราว คือสัตว์ตัวที่พูดไว้ว่าเป็นสุนัขแต่มีงวงอยู่บนก้อนเมฆทรงหนึ่งที่รูปร่างคล้ายๆเครื่องบิน ก็คิดว่ามันกำลังนั่งเครื่องบินอยู่ เป็นต้น
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เวลาที่เราดูมิวสิคเพลง เราก็ชอบคิดว่ามันต้องเป็นอย่างนี้แนๆ ต้องเป็นอย่างนั้นสิ ผู้หญิงคนนี้ต้องวิ่งหนีไปแน่ๆ เหมือนเราคิดเหตุการณ์ต่างๆ ไปล่วงหน้าตามความคิด ความรู้สึกของตัวเราเอง สิ่งเหล่านี้เหมือนกับว่าเราเคยเจอ เคยเห็นมา ก็เลยคิดว่าต้องเป็นอย่างนี้
Tuesday, September 4, 2007
แนวคิดสัญวิทยาและการสร้างความหมาย (Semiology and Signification)
การนำทฤษฎีสัญวิทยามาใช้ในการศึกษาการสื่อสารของมนุษย์ ถือเป็นการศึกษาในแนวใหม่ และเป็นจุดเน้นที่ต่างไปจากการศึกษาดั้งเดิมที่มุ่งศึกษาการสื่อสารแบบเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องอยู่กับสาร ช่องทาง เครื่องส่ง ผู้รับ เสียงรบกวน และการย้อนกลับ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการสื่อสาร
สัญวิทยาเป็นทฤษฎีที่นำมาอธิบายการสื่อสารของมนุษย์ว่า การสื่อสารคือจุดกำเนิดของความหมาย ซึ่งการศึกษาแนวนี้จะไม่สนใจความล้มเหลวของการสื่อสาร และไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลและความถูกต้อง แต่เป็นแนวทางการศึกษาเชิงสังคมหรือความแตกต่างของวัฒนธรรมระหว่างผู้ให้และผู้รับสาร ตลอดจนความหลากหลายของความหมายภายในระบบภาษา วัฒนธรรม และความความเป็นจริงที่ไม่สามารถแสดงผลเป็นลูกศรหรือเป็นเส้นตรงของกระแสการไหลของข่าวสาร แต่เป็นการศึกษาเชิงโครงสร้าง โดยมุ่งความสนใจไปที่การวิเคราะห์โครงสร้างที่กลุ่มความสัมพันธ์ที่ทำให้สาร หมายถึง บางสิ่งที่มันสร้างเครื่องหมายบนกระดาษ หรือเสียง ไปยังสารที่จะถูกส่งออกไปในการสื่อสารแต่ละครั้ง ดังนั้นการศึกษาแนวสัญวิทยานี้ถือว่าตัวกำหนดของการสื่อสารขึ้นอยู่กับสังคมและสิ่งรอบตัวบนโลกของมนุษย์ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับกระบวนการของการสื่อสาร แต่ระบบสัญญะทำการควบคุมการสร้างความหมายของตัวบทให้เป็นไปอย่างมีความสลับซับซ้อนอย่างแฝงเร้น และต้องขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละวัฒนธรรม
Saussure แบ่งสัญญะออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ตัวหมาย ( Signifier) เป็นรูปแบบทางกายภาพของสัญลักษณ์ เช่น คำที่ถูกเขียน เส้นต่างๆ ในหน้ากระดาษที่ก่อให้เกิดภาพวาด รูปภาพ หรือเสียง ส่วนที่สองคือ ตัวหมายถึง (Signified) คือบริบทภายในใจที่ถูกหมายถึงโดยตัวหมาย ดังนั้น คำว่า ต้นไม้ ไม่จำเป็นต้องเป็นต้นไม้ที่เฉพาะเจาะจง แต่หมายถึงบริบทที่ถูกสร้างขึ้งทางวัฒนธรรมว่าคือความเป็นต้นไม้ กระบวนการทั้งหมดนี้เราเรียกว่า การสร้างความหมาย
การศึกษาในเชิงสัญญะให้ความสำคัญกับการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวหมายกับตัวหมายถึง เพื่อดูว่าความหมายถูกสร้างขึ้นและถูกถ่ายทอดออกมาอย่างไร โดยนำเอาตัวบทมาวิเคราะห์เพื่อดูว่าตัวหมายนั้นสร้างความหมายอย่างไร
ขั้นตอนในการแสดงความหมาย 2 ระดับ คือ
ระดับแรกเป็นการตีความตามความหมายตรง (Denotation)
การตีความตามความหมายตรง เป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับความจริงตามธรรมชาติ เป็นการอ้างถึงสามัญสำนึกหรือความหมายที่ปรากฎแจ่มแจ้งอยู่แล้วของสัญญะ (Sign) และความสัมพันธ์ของสัญญะกับสิ่งที่กล่าวถึงในความหมายที่ชัดแจ้งของสัญญะ เช่น ภาพของอาคารใดอาคารหนึ่ง ก็แสดงว่าเป็นอาคารนั้น
ระดับที่สอง เป็นการตีความหมายโดยนัยแฝง (Connotation)
การตีความหมายในขั้นนี้จะเป็นการตีความหมายในระดับที่มีปัจจัยทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยซึ่ง ไม่ได้เกิดจากตัวของสัญญะเอง เป็นการอธิบายถึงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสัญญะกระทบกับความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้ใช้และคุณค่าทางวัฒนธรรมของเขา ซึ่งสัญญะในขั้นนี้จะทำหน้าที่ 2 ประการ คือ ถ่ายทอดความหมายโดยนัยแฝง และถ่ายทอดความหมายในลักษณะมายาคติ (Myths)
Barthes เรียกกระบวนการในการเปลี่ยนแปลง ลดทอน ปกปิด บิดเบือนฐานะการเป็นสัญญะของสรรพสิ่งในสังคมให้กลายเป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นสิ่งปกติธรรมดา หรือเป็นสิ่งที่มีบทบาท
Tuesday, August 28, 2007
การคิด (Thinking)
ความสามารถในการคิด ทำให้มนุษย์มีความเป็นมนุษย์ ที่มีความแตกต่างจากสัตว์ สามารถแก้ปัญหาให้กับตนเองได้ สามารถคิดสร้างสรรค์เครื่องทุ่นแรง สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ได้ สามารถสร้างความสุข ให้กับตนเอง และปกป้องตนเองให้พ้นจากภัยธรรมชาติได้ การคิด ทำให้คนไม่ถูกหลอก ด้วยการตีความ หรือยอมรับการตีความข้อมูลอย่างผิดๆ และไม่เชื่อถือสิ่งต่างๆ อย่างง่ายๆ แต่จะวินิจฉัยไตร่ตรอง และพิสูจน์ความจริง อย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจเลือก
การเรียงหินสะเปะสะปะ เพราะคิดไม่เป็น
การคิดของคนในสังคมไทย เป็นการคิดที่จะสร้างปัญหา มากกว่าก่อให้เกิดการพัฒนา ตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล จนถึงแม้บางครั้ง ระดับผู้นำทางความคิดในสังคม สังคมไทยจึงอยู่ในภาวะอ่อนแอทางความคิด
เราเป็นคนที่เชื่อง่าย ถูกหลอกง่าย เพราะเราไม่คิด หรือคิดไม่เป็น เรามักเชื่อตามบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้อาวุโส นักวิชาการ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ หรือไม่ก็เชื่อตามโชคชะตา หรือคิดไปเองว่า ใช่แน่ๆ หลายครั้งเราจึงถูกหลอกทางความคิดอย่างง่ายๆ เพราะไม่เรียนรู้ที่จะเสาะแสวงหาข้อเท็จจริง ของสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง และไม่พยายามตั้งคำถาม กับสิ่งที่ควรสงสัย
เราตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ผิด เพราะคิดผิด เราไม่ได้คิดวิเคราะห์ และคิดเปรียบเทียบ ผลดี ผลเสีย อย่างรอบคอบ ขาดการคิดอย่างบูรณาการ และการคิดเชิงอนาคต จึงทำให้คิดผิด โดยคิดมุ่งหวังเพียงผลประโยชน์เฉพาะหน้า หรือคิดอย่างไม่สมดุล และเข้าข้างตนเองอย่างอคติ บางครั้งเราเห็นคนอื่นๆ ทำบางสิ่งได้ ก็มักคิดว่า สิ่งนั้นถูกต้อง และสมควรเลียนแบบ เช่น ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เรามุ่งรวยแบบเก็งกำไร ทั้งเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ และตลาดหุ้น โดยไม่คำนึงถึงผลเสีย ซึ่งที่หากวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริง ย่อมเข้าใจได้ว่า มันน่าจะเกิดปัญหาขึ้นในที่สุด เป็นต้น
Tuesday, July 3, 2007
THINKING
ความคิดเชิงประยุกต์ การนำสิ่งหนึ่งไปใช้ในบริบทอื่นอย่างเหมาะสม เป็นการนำบางสิ่งไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การนำกระบวนความคิดในวิชา Understanding มาใช้กับวิชาอื่นๆ เป็นการนำกระบวนความคิดที่ต้องคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน คิดจากเปลือกข้างนอกที่เห็นจนไปถึงแก่นข้างใน มาปรับใช้กับวิชาอื่นๆ ได้ ที่ต้องเน้นการคิดให้มากๆ
ความคิดเชิงเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบชีวิตของตนเองเสมือนดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาจากน้ำได้ เพราะดอกบัวเปรียบเสมือนสติปัญญา ส่วนโคลนตมนั้นอยู่ด้านล่าง ติดพื้นดิน จึงเหมือนกับสติปัญญาของเราที่ตอนนี้ยังจมอยู่กับความคิดตัวเองอยู่ ยังคิดอะไรไม่ออก ไม่สามารถรับรู้อะไร เป็นการเปรียบเทียบสติปัญญาของตนกับดอกบัว ส่วนความโง่เขลาก็เหมือนโคลนตมที่ดึงขึ้นมาเท่าไรก็ดึงขึ้นมาไม่ได้
ความคิดเชิงมโนทัศน์ เป็นการคิดรวบยอด ตัวอย่างในปัจจุบันที่เน้นในเรื่องของความพอเพียง การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในยุคของโลกาภิวัฒน์ ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักการพัฒนาประเทศไทยไทยในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าได้อย่างสมดุลเทียบเท่ากับต่างชาติ ภายใต้การยึดหลักของความพอเพียง
ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ความคิดพัฒนาเรื่องต่างๆ เป็นการแก้ปัญหาด้วยแนวทางใหม่ สำหรับตัวเองเป็นคนตัวเล็ก และในโลกนี้ก็มีคนตัวเล็กอยู่มากมาย โดยเฉพาะเวลาขึ้นรถเมล์ สองแถว ที่ต้องโหน ถ้าเจอคันเล็กก็ดีไป แต่ถ้าเจอคันใหญ่ก็ซวยไป จะโหนยังไงละคนก็เยอะ แถมน้ำใจคนไทยตอนนี้ก็มีกันเยอะเหลือเกิน ถ้าตัวเองเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยงเพราะโหนไม่ค่อยถึง เลย
อยากให้ทำรถสำหรับคนตัวเล็กบ้าง
ความคิดเชิงวิพากษ์ ใช้พิจารณาเรื่องหนึ่งโดยตั้งคำถามที่ท้าทาย หรือโต้แย้งข้ออ้างนั้น ไม่เห็นคล้อยตามข้ออ้างที่ขาดหลักเหตุผล อย่างเช่นความคิดของตัวเองที่ว่า ไม่เห็นว่าการที่คนจะประสบความสำเร็จจะต้องเชื่อฟังพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่เสมอไป มีหลายคนที่ประสบความสำเจ มีอนาคตที่สวยงาม ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำตามคำสั่งของพ่อแม่ เค้าไม่ได้เรียนหมอตามที่พ่อแม่ต้องการเค้าเรียนเกี่ยวกับศิลปะ การออกแบบก็ประสบความสำเร็จได้ เป็นนักออกแบบที่มีชื่อเสียงได้ มันขึ้นอยู่กับตัวของเด็กเองมากกว่า แต่พ่อแม่ก็มีส่วนในความสำเร็จนั้น การเลี้ยงดู การเอาใจใส่ เป็นต้น การที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกทำในสิ่งที่อยากทำ ทำให้ลูกรู้สึกชอบ มีความสุขในสิ่งนั้น ดีกว่าไปบังคับทำให้ลูกอึดอัด กดดัน จนกลายเป็นประชดประชันแทน ยิ่งป็นการทำลายอนาคตของเด็กมากกว่า
ความคิดเชิงอนาคต แนวโน้วที่อาจเกิดในอนาคตโดยใช้หลักการคาดการณ์ จาการได้เรียนในคณะนี้ได้เรียนวิชาต่างๆ ที่ให้ใช้ความคิด เจาะลึกในเรื่องๆ นั้น ทำให้เป็นคนที่มีความรอบคอบมากขึ้น และถ้าเรายิ่งได้คิด และเรียไปเรื่อยๆ สะสมประสบการณ์เหล่านี้ ซึมซับมากขึ้น เราก็จะยิ่งเป็นคนที่มีเหตุผล มีความคิดที่เป็นหลักการ มีความรอบคอบทุกเรื่อง ไม่เป็นคนที่มองอะไรเพียงผิวเผิน ประเทศของเราก็จะเกิดเด็กที่คิดเป็นหลักการ เป็นเหตุผลมากขึ้น ไม่คิดเพียงใช้อารมณ์ของตนเป็นหลัก
ความคิดเชิงบูรณาการ เชื่อมโยงแนวคิดที่แยกส่วนกันให้เข้ากับเรื่องหลัก ให้แกนหลักมีความสมบูรณ์ขึ้น โดยมองภาพรวมหรือใช้ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วยเพื่อความสมบูรณ์
บูรณาการการเรียนการศึกษากับมนุษย์ การศึกษาจะทำให้มนุษย์เราเป็นมนุษย์มากขึ้น มนุษย์กับคนมีความหมายเหมือนกัน คือเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน มีสมองเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่คนนั้นไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี ถูกต้อง แต่มนุษย์สามารถแยกแยะความดีความชั่วได้ ดังนั้นถ้าคนเรามีการศึกษา มีความรู้ รู้ดี รู้ชั่ว รู้ว่าสิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ ก็จะยิ่งเพิ่มความเป็นมนุษย์ให้กับตนเองได้มากขึ้น
ความคิดเชิงกลยุทธ์ คิดอย่างรอบคอบ ละเอียด คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ขอยกตัวอย่างเพื่อนคนหนึ่งที่พยายามหาวิธีให้ตัวเองอยู่หอพัก เพราะตัวเองเหนื่อยกับการเดินทาง และมันก็เลิกค่อนข้างดึก เลยทำทีให้พ่อแม่สงสาร เพราะแม่ของเค้าเป็นคนขี้สงสารมากๆ เลยทำเป็นกลับบ้านดึก ทำเป็นเหนื่อยหมดแรง พอแม่เห็นก็สงสารลูก เลยยอมให้อยู่ มันอยู่ได้เพราะมันรู้แม่มันขี้สงสารและรักมันมาก วิธีนี้ไม่ค่อยดีหรอก แต่มันแค่จับจุดอ่อนของแม่มันได้เลยได้อยู่
ความคิดเชิงสังเคราะห์ ดึงองค์ประกอบต่างๆ มารวมกันภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้โดยกระบวนการผสมผสานองค์ประกอบต่างๆ อย่างกลมกลืน ตัวอย่างความคิดนี้ในความคิดตัวเองก็ขอยกเรื่องของการทำอาหาร
ยังไม่รู้หรอกว่าจะทำอะไรแต่ก็ซื้อของมา เป็นพวกอาหารสดทั่วไป เช่น ไข่ไก่ เนื้อหมู ไก่ น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล ผักสด หอม กระเทียม ฯลฯ แล้วก็คิดว่าจะประกอบของเหล่านี้ ปรุงเป็นอาหารอะไรดี ทำอะไรได้บ้าง และจะปรุงอย่างไร เป็นแบบทอด ผัด แกง ต้ม ปิ้ง ย่าง หรือว่านึ่งดี
Tuesday, June 26, 2007
บุหรี่
ปัญหาของบุหรี่ในปัจจุบัน แม้จะมีการพยายามที่จะรณรงค์ให้คนลดการสูบบุหรี่ โดยใช้ภาพและคำเตือนบนซองบุหรี่ก็ตาม อาจจะเป็นเพราะภาพที่สื่อยังดูไม่น่ากลัวพอรึเปล่าหรืออาจจะเป็นคำเตือนที่ไม่ได้บอกถึงภัยอันตรายที่แน่ชัดว่าสูบมากๆ นี่แหละเราจะตายได้ แต่กลับไปใช้คำว่า ควันบุหรี่ ไอ้คนสูบมันก็นึกว่าอย่างน้อยมันก็เป็นคนสูบ ไอ้คนไม่สูบแหละที่จะตายเพราะมันเป็นคนดมควันเข้าไป เลยอยากจะให้มีการใช้คำที่แสดงถึงชีวิตผู้ที่สูบเองเลยว่าสูบแล้วต้องตายแน่นอน
นอกจากการเล่นในเรื่องชีวิตของผู้สูบเองแล้วยังมีชีวิตของคนรอบข้างที่ผู้สูบรัก เลยยกตัวอย่างชีวิตของลูกหรือไม่ก็เด็ก เพราะว่าเด็กเหล่านี้ยังไร้เดียงสา น่ารัก น่าทะนุถนอม ถ้าเค้าสะท้อนนึกไปถึงลูก หรือหลานตัวเองอาจทำให้เค้ารู้สึกสะท้อนใจบ้างไม่มากก็น้อย
ปัญหาอีกอย่างของบุหรี่คือเด็กวัยรุ่น โดยเฉพาะผู้ชายที่ยังไงก็เป็นกลุ่มส่วนมากที่ซื้อ เพราะความอยากลอง อยากเท่ห์ โชว์สาว เราเลยอาจจะทำซองบุหรี่เป็นลายคิกขุน่ารัก ลายหรือสีหวานแหววไปเลย เช่น ลายคิตตี้สีชมพูเพื่อที่ให้ผู้ชายเหล่านั้นขาดความมั่นใจกลัวคนอื่นมองเป็นตุ๊ดเป็นแต๊วแทน จากการอยากเท่ห์โชว์สาววิธีนี้เลยเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นแทน และถ้าให้ผู้หญิงไปซื้อเชื่อว่าผู้หญิงที่สูบหรือซื้อบุหรี่ก็ดูไม่ดีในสายตาคนอื่นอยู่แล้ว ผู้หญิงก็อาจไม่กล้าไปซื้อให้
Monday, June 11, 2007
Car
ในปัจจุบันพาหนะเพื่อการเดินทางเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของคนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธุรกิจการงาน การซื้อของ การพักผ่อน ยานหาหนะมีหลายรูปแบบทั้งรถจักรยาน รถประจำทาง เครื่องบินและรถยนต์ แต่ชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะในเมือง ในกรุงเทพที่ต่างต้องทำงาน ต้องแข่งขัน รีบเร่งอยู่ตลอด รวมทั้งความต้องการความสะดวกสบาย จึงทำให้ขาดรถยนต์ที่เป็นปัจจัยที่5 เป็นสิ่งที่คอยอำนวยความสะดวกไม่ได้
Concept คือยานพาหนะที่ใช้ในการเคลื่อนที่ไปสู่จุดหมายปลายทาง โดยใช้กำลังของเครื่องยนต์ในการเคลื่อนที่ รถยนต์ต่างจากรถประจำทางตรงที่ความเป็นส่วนตัวและความสะดวกสบาย
ส่วนไอเดียของรถยนต์นั้นมีมากมาย เพราะไอเดียเป็นทางออกของปัญหา ซึ่งปัญหาของรถยนต์นั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่เป็นปัญหาหลักคือ เรื่องของความปลอดภัย ไอเดียต่างๆ จึงเกิดขึ้นเช่น การทำเข็มขัดนิรภัย การทำถุงลมนิรภัย รวมทั้งเรื่องความปลอดภัยของผู้ร่วมเดินทางโดยเฉพาะเด็ก จึงเกิดการทำเก้าอี้เด็กขึ้น เป็นต้น
Thursday, March 1, 2007
Assignment
… Steven Heller …
ประวัติการทำงานของ Steven Heller
- เป็นนักวิจารณ์ของบริษัท AIGA ซึ่งเป็นเป็นบริษัท Graphic Design
- เป็นผู้สร้างบริษัทและเป็นประธานของ MFA Design แผนก Visual Art
- เป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ 25 ฉบับ ประกอบด้วย Print, U&LC, Eye Magazine, Graphic Design Issues, Mother Jones
- ตั้งแต่ปี1986 เขาได้เป็น Art Director Senior และเป็นที่ปรึกษาบรรณาธิการของนิตยสาร New York Time
- เขียนหนังสือเกี่ยวกับ Graphic Design, Illustrator และการ์ตูนล้อเลียนการเมือง มากกว่า 100 เล่ม
- เป็นนักเขียนที่ให้ความรู้ที่เกี่ยวกับการออกแบบ Graphic และหนังสืออื่นๆ เช่น
- หนังสือที่เกี่ยวกับ Typographer
- ประวัติศาสตร์ของ Graphic Design
- Graphic Design จากสมัย Victorian ถึงยุค Post modern
- Typology จากสมัย Victorian ถึงยุค Post Modern
- หนังสือเกี่ยวกับการเป็นนักออกแบบ Graphic Designer
- ศิลปะการตกแต่งของอิตาลี่ เป็นการออกแบบในช่วงระหว่างสงคราม
- Steven Heller ได้เป็น Art Director ครั้งแรกในปี 1974
- ทำงานเกี่ยวกับโฆษณาต่างๆในหนังสือมากมายประกอบด้วย
Interview magazine,The New York free Press,
Rock Magazine, Screw Magazine, Mobster Time,
Evergreen Review And the Irish Arts Center
- ได้รับรางวัลเกี่ยวกับการออกแบบใหญ่ๆ 3 รางวัลจาก The National Endowment For the Arts ของ
New York
- Steven เป็นผู้ดูแลงานนิทรรศการการออกแบบ ประกอบด้วย “The Art Of Satire” ที่ Pratt Graphic Center และ “Art Against War” ที่ Parson School Of Design
- ตั้งแต่ปี1986 เขาจะทำงานแนว Modernism & Eclecticism ความเป็นมาของการออกแบบ Graphic ของ America
รางวัลที่ได้รับ...
- ปี 1998 เขาได้รางวัล A Special Educators Award, The Art Diritor’s Club
- ปี 1999 ได้รับเหรียญ AIGA เป็นรางวัลผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต และในปีเดียวกันไดรางวัลจากสถาบัน Pratt
- ปี 2000 ได้รับรางวัล Outstanding Client Award, Graphic Artists Guild
Louise Fili
- เป็นภรรยาของ Steven Heller เธอเรียนพิเศษเฉพาะทางด้าน logo, package, restaurant, type, book, book jacket design
- ได้รับเหรียญจาก The Society of Illustrators and the New York Art Directors Club
- เธอได้เรียนทางด้าน graphic design และ typography
- งานของเธอเป็น collections ของ the Library of Congress, the Cooper Hewitt Museum และ the Bibliotheque National
- เธอได้รับบริจาคให้เรียนทางด้าน Arts design เหมือนกับ Steven Heller สามีของเธอ
Lifetime in graphic design
คำพูดของ Steven ที่น่าจดจำ
การยกตัวอย่างการเปลี่ยนรูปแบบวัฒนธรรมจากการใช้เหตุผลเป็นการใช้กำลัง
การรวบรวม essays ต่างๆ ของ Steven ที่น่าคิด รวมทั้งบสัมภาษณ์ที่เป็นปรัชญาของ Steven ในระยะเวลา 34 ปีของการ design
ไม่ใช่เพียงเพราะความต้องการแต่เป็นความเข้าใจของหลักการต่างๆ
เรื่อง typo และการสื่อสาร
-Present and past typography
- The fifty essays cover topics such as
• Principals of designing and choosing the right typeface * The Modernism versus Tradition debate * The relationship between type form and expression * The anatomy of typefaces across the 20th century * Aesthetical reflections from classics to electronic and
dynamic typography
- คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญในการรวมเทคโนโลยีเข้ากับงาน
- หนังสือในยุค the Digital Revolution
- Professional perspectives
- Re-defining the role of the educator to “software trainer”
- Publishing, computer arts, digital motion technology
Graphic Design History
“ คำถามที่อาจไม่มีคำตอบ ”
- ประวัติ ความเป็นมาของ graphic design
- ปัญหาที่เกิดจาก graphic design
- การให้คำจำกัดความในหน้าที่ของ graphic design Modern graphic design
- ความเปิดเผยที่ใช้สื่ออย่างแพร่หลายของการหมกมุ่นในกาม
- หนังสือเล่มแรกที่สำคัญ และจริงจัง
- ใช้คำพูดหยาบและเสียดสีในสื่อ
- หนังสือวิจารณ์เกี่ยวกับการมี sex ของอเมริกาจำนวนมาก
The Education of an Illustrator
บทความ บทสัมภาษณ์ และหลักสูตรการเรียนของนักออกแบบ และผู้มีความรู้ทาง illustration
- อิทธิพลการทำ illustration กับคอมพิวเตอร์
- อนาคตด้าน illustration
- หลักการออกแบบที่ทำให้คนเข้าใจได้ลึกซึ้ง
- design งานอย่างไรที่จะแสดงความเป็นตัวเองออกมา
- เข้าใจว่าอะไรคือองค์ประกอบที่ทำให้ Ads, posters, packages, Logos, and book เป็นที่จดจำ
- หลักสำคัญแห่งการโฆษณา
- Pre-20th-century history
- The Nazi
- อธิบายว่าทำไมสัญลักษณ์นี้จึงกลายเป็นเครื่องหมายแสดง ลัทธินาซีและมีความหมายอย่างไร
- การวิเคราะห์ในเชิงการค้าที่ใช้มีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งการใช้อำนาจและรูปแบบผิดๆ
- งานเขียนของ Steven ที่ข้อมูลมีคุณค่าต่อสังคม
- S shape
- In Germany to the swastika flag
- หนังสือที่ให้คนอ่านเข้าใจความคิด จิตใจของผู้เขียนทั้ง 20 ท่าน ที่เขียนอธิบายทฤษฎีและหลักปรัชญาเกี่ยวกับการออกแบบ
- หนังสือที่พูดถึงข้อเท็จจริงต่างๆ และข้อคิดเห็นกว้างๆเรื่องออกแบบ
จากการนำเสนอของคนที่มีความคิดสมัยใหม่
- รถยนต์ จะนึกถึงความเร็ว
- ขนมปัง ความหอม และจุดเด่นของร้านขนมปังนี้จะทานแล้วไม่อ้วน
- ของเล่น จะนึกถึงเด็กๆ ตัวอักษรเลยเหมาะกับเด็กๆ
- สวนสัตว์ จะคิดถึงสัตว์ต่างๆ ทั้งลายของสัตว์ อวัยวะของสัตว์ เช่น ปีก ขา เป็นต้น
- ร้านกาแฟ ร้านนี้จะเป็นร้านที่เหมาะกับวัยทำงานเป็นผู้ใหญ่ ที่หลงไหลในรสชาติกาแฟดั้งเดิม
- หนังผี จะคิดถึงความน่ากลัว สยดสยอง ดูหลอนๆ
- ร้านอาหารจีน จะใช้ลายเส้นพู่กันที่คนจีนใช้กันมาเป็นต้นแบบ
- ร้านดอกไม้ ใช้ลายเส้นพันๆ กัน หรือเอาดอกไม้มาผสมผสานกับตัวอักษร
- ร้านอิเล็กทรอนิกส์ จะแสดงถึงความทันสมัย ดูไฮเทค
การสรุปของงานทดลองนี้คือ การที่คิดตัวอักษรสำหรับธุรกิจประเภทต่างๆ ขึ้นมา บางชุดของตัวอักษรก็คิดขึ้นมาเองกับการดัดแปลงจากชุดอักษรเดิมที่มีมาก่อนหน้านี้ ซึ่งสิ่งที่ได้รับจากการทดลองนี้ ทำให้ได้ทราบถึงหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ตัวอักษรได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
มุมกล้องระดับสายตา (Eye Level) เป็นการตั้งกล้องในระดับเดียวกันกับสายตาของผู้ชม การเสนอมุมแบบนี้ทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
มุมกล้องระดับต่ำ (Low Angle) กล้องจะตั้งในระดับต่ำกว่าสิ่งที่ถ่าย เวลาบันทึกภาพต้องเงยกล้องขึ้น ภาพมุมต่ำจะมีลักษณะตรงข้ามกับมุมสูง คือ จะให้ความรู้สึกว่าสิ่งที่ถ่ายนั้นมีอำนาจ มีค่ายิ่งใหญ่น่าเกรงขาม แสดงถึงความสง่างามและชัยชนะ
ถ่ายภาพในมุมระดับสายตา ทั้งด้านตรง และด้านข้าง 90 องศา มุมกก และมุมเงย
ถ่ายภาพในมุมระดับสายตา ทั้งด้านตรง และด้านข้าง 90 องศา มุมกก และมุมเงย นอกจากนี้ยังเพิ่มการถ่ายด้านข้าง มุมเงยละมุมก้มในองศาที่ 45 เพื่อดูมุมกล้องในหลายๆ มุม ซึ่งแต่ละคนจะมีมุมกล้องที่ถ่ายแล้วสวยต่างกัน
จากการทดลองนี้ทำให้ทราบว่าการถ่ายภาพก็ก่อให้เกิดภาพที่มีมิติได้ เช่น ภาพถ่ายมุมตรงจะเป็นแบบ 2 มิติ ดูแบน ส่วนในมุมเอียงข้างจะดูมีมิติมากขึ้น เห็นรายละเอียดได้มาก