Thursday, October 11, 2007
สรุป Understanding
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้ทำให้เราเป็นคนที่จะทำอะไรเราต้องคิดมากขึ้น ทั้งๆ ที่แต่ก่อนเราจะทำอะไรเรามักไม่ค่อยจะคิดอะไรมากมาย คิดเพียงผิวเผิน ดูแต่เพียงเปลือกภายนอกที่มันแสดงออกมาเท่านั้น ไม่เคยมานั่งคิดลึกถึงตัวข้างในเปลือกเลย ไม่เคยมานั่งคืดถึงว่าทำไมมันเป็นอย่างนี้ และเพราะอะไรต้องเป็น ต้องทำเช่นนี้ หรือมีอะไรมาแอบแฝง บอกอะไรเรารึเปล่า แต่พอเราเรียนตัวนี้ ทำให้เวลาเราได้ดู หรือทำอะไร เราจะมองลึกเข้าไปอีกว่ามันจะสื่ออะไรกับเรา หรือมันจะหลอกอะไรเรา แต่เป็นคนที่คิดช้ามากหรือคิดอะไรที่มันคิดไม่ถึง มันเลยทำให้เราต้องดู ต้องคิดมากขึ้น อย่างตอนที่ดูโปสเตอร์ BABLE ตอนแรกๆ เราก็ไม่เข้าใจอะไร แต่พอพูดเราก็เริ่มเข้าใจอะไรมากขึ้น ว่าทำไมเราต้องคิด ต้องมองอะไรลึกๆ เข้าไปอีก ตอนเรียนอันนี้เรารู้สึกสนุกมากพอถอดรหัสออกมาทีละอย่าง พอเรารู้ เออทำไมคนคิดคิดได้ขนาดนี้ โดยเฉพาะโปสเตอร์ภาพที่เป็นแบบแบ่งเป็นสองฝั่ง แรกๆ เราก็ไม่รู้เห็นเป็นโปสเตอร์สื่อหนังธรรมดา แต่พอบอกถึงสิ่งที่เค้าอยากบอกก็ทำให้เรารู้สึกเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เลยทำให้เราเกิดความเปลี่ยนแปลงในเวลาเราเห็นโปสเตอร์หนังเราจะดูรายละเอียด ภาพ การจัดวางต่างๆ มากขึ้นว่าอยากสื่ออะไร ทำไต้องภาพนี้ อักษรแบบนี้ แล้วทำไมต้องวางแบบนี้ มันทำให้เรารู้ถึงเนื้อหาของเรื่องคร่าวๆ ก่อนดูบ้าง เวลาดูเราก็อ๋อเป็นอย่างนี้เอง ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนเออโปลเตอร์หนังก็เฉยๆ นอกจากนี้การที่เราคิดอะไรมากข้น มองบางอย่างให้มันลึกเข้าไปมันทำให้เราดูเป็นคนที่คิดเป็น เวลาทำอะไรเราก้จะทำอะไรโดยมีสติ ถึงแม้ว่าในตอนนีเราจะยังคิดช้า ยังคิดอะไรที่ยังไม่ถึงตัวข้างในจนถึงตัวแก่นของมัน แต่วิชานี้ต้องดู ต้องหาประสบการณ์มาก คิดให้มันมากๆ สิ่งเหล่านี้คงทำให้เราเป็นคนที่คิดเป็นมากขึ้นได้ สิ่งเหล่านี้มันจะต้องสะสมไปเรื่อยๆ
นักการตลาดที่ดี
สำหรับการเป็นนักการตลาดที่ดีของตัวเองก็คือ การที่เราสามารถนำการตลาดที่เราได้เรียนมามาช่วยพ่อแม่ได้ คือทำให้ธุรกิจของที่บ้านพัฒนา และสามารถทำให้การค้าขายสินค้าดีขึ้นได้ และการที่เราเลือกเรียนทางด้านการตลาดเพราะว่ามันเป็นข้อตกลงหนึ่งที่เราได้ให้ไว้กับพ่อ ที่เราให้ไว้ว่าถ้าเราได้เรียนคณะศิลปกรรมคณะที่เราเลือกเรียน เราจะยอมเรียนในด้านการตลาดตามสัญญาที่ให้ไว้ การที่เรายอมทำตามนั้นเพราะเราอยากให้เค้าภูมิใจในตัวเราบ้าง เพราะเหมือนที่ผ่านมาเราทำตัวเกเรเกินไป ไม่เหมือนพวกพี่ๆ เราก็อยากจะทำในสิ่งที่เค้าอยากให้ทำบ้าง การเรียนต่อด้านนี้เราอยากเอาวิชาที่เรียนมาทำให้ที่บ้านดีขึ้นเพราะช่วงนี้ที่บ้านคนซื้อของน้อยลง เห็นเค้าเครียดๆ อยู่แต่บ้าน เปิดร้านขายของทุกวันตั้งแต่เช้า อาทิตย์ยังเปิด จนไม่ได้ไปเที่ยวไหน เลยอยากให้เค้าได้ไปเที่ยวบ้างเหมือนพ่อแม่คนอื่นบ้าง
Tuesday, October 2, 2007
อนาคต
ในอนาคตเมื่อเรียนจบวางแผนเอาไว้ว่าอาจจะเรียนต่อ แต่จะเรียนในด้านของการตลาด หรือไม่ก็ด้านบริหาร เพราะอยากเรียนในด้านอื่นดูบ้าง เพราะว่าพอเราได้เรียนด้านการออกแบบนี้มันรู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่เราชอบแล้ว ตอนเราเข้ามาแรกๆ เราแค่รู้สึกว่าเราชอบวาดรูป และในช่วงแรกๆ ปี 1 ปี 2 มันยังมีวิชาที่เรายังรู้สึกว่าเราไปได้ เราชอบอยู่ ทั้งทฤษฎีสี หรือว่า drawing แต่พอรู้ว่าไม่ใช่มันก็ปี 3 แล้วมันก็เลยกลับตัวไม่ทัน ตอนแรกก็อยากย้ายคณะแต่ทางบ้านอยากให้เราเรียนให้จบ เพื่อนๆ ก็บอกว่าเราเรียนได้ ให้เรียนไปก่อน เราก็เลยพยายามเรียนต่อไป ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าไม่ชอบแต่เราก็ไม่ได้เกลียด เราก็เรียนได้ แต่คงไม่เหมือนคนอื่นๆ ที่ชอบด้านนี้คงทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ ส่วนตัวเองคงจะเรียนด้านนี้ให้จบ และเรียนในด้านอื่น ที่เราเลือกเรียนด้านการตลาด หรือไม่ก็บริหารเพราะเราชอบเกี่ยวกับวิชาการ หรือตัวเลข เลยอยากลองเข้าไปเรียนรู้ดู และเนื่องจากทางบ้านมีอาชีพค้าขาย เค้าก็อยากให้เราเรียนบริหารเพื่อมาช่วยทางบ้าน เราก็คงเรียนทางด้านบริหาร การตลาดและนำความรู้ในด้านการออกแบบ กระบวนความคิดในการทำงานมาช่วยกันได้ และก็คงจะเรียนภาษาอังกฤษเพิ่ม เพราะสมัยนี้เน้นคนที่เก่งภาษา อย่างน้อยการรับเข้าทำงานเค้าจะดูภาษาเป็นอันดับต้นๆ รู้ตัวเองดีว่าภาษาอังกฤษยังไม่ดี หลังจากจบตรีก็คงจะหาสิ่งที่เรารู้สึกว่าชอบ เรียนแล้วสนุก แต่ว่าเรียนทางด้านออกแบบนี้เราก็ไม่ทิ้งนะ มันทำให้เรารู้อะไรเยอะ การทำงานต้องคิด อาจนำความรู้นี้ไปใช้กับที่บ้าน อยากทำให้ร้านที่บ้านดูเป็นระบบระเบียบมากกว่านี้ทั้งตัวสินค้า การนำเสนอสินค้าเวลาขาย รวมทั้งรูปแบบการจัดวางของสินค้า เราอยากทำให้ร้านที่บ้านดูดี ดูทันสมัยขึ้นตามยุคสมัยนี้ คิดว่าถ้าเราจบแล้วก็คงเรียนโทต่อ เรียนภาษา แล้วก็คงช่วยงานที่บ้านไปก่อน อยากจะลองค้นหาในสิ่งที่ตัวเองรักและชอบที่จะอยู่และทำกับมันให้ได้ก่อน ถ้าหาพบแล้วก็คงจะหางานทำข้างนอก คงไม่ทำที่บ้านไปตลอด อยากจะลองหาประสบการณ์ดู อยากหางาน หาเงินให้พ่อแม่ได้ใช้บ้าง อยากให้เค้าได้ไปเที่ยวเหมือนคนอื่น พวกเค้าไม่เคยได้ไปไหนอยู่แต่บ้านขายของ เราเลยอยากชาวยงานทางบ้านให้ลงตัวก่อนแล้วคงหางานข้างนอกทำ แต่ทั้งนี้ก็คงอยู่ที่ดวงกับโชคของตัวเองด้วยว่าจะเป็นยังไง เราไม่สามารถคาดเดาได้
Tuesday, September 18, 2007
จินตนาการ
คำว่า "จินตนาการ" สำหรับตัวเองคือ การวาดภาพให้เป็นไปตามที่ตัวเองคิด ให้เป็นไปตามที่เราอยากให้เป็น เหมือนเป็นการเพ้อฝัน ง่ายๆ คือการที่เราคิดไปเอง
ตัวอย่าง ตัวเองเป็นคนที่ชอบมองขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วมองก้อนเมฆเป็นรูปตสัตว์ตัวนั้นบ้าง ตัวนี้บ้าง เช่น มองเป็นรูปสุนัขแต่ว่ามีงวงช้างบ้าง พอเอามาผสมกัน มันก็เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่ง แล้วพอมองก้อนนู้นก้อนนี้มันก็มองเป็นรูปร่างต่างๆ พอเอามารวมกัน คิดจนเป็นเรื่องราว คือสัตว์ตัวที่พูดไว้ว่าเป็นสุนัขแต่มีงวงอยู่บนก้อนเมฆทรงหนึ่งที่รูปร่างคล้ายๆเครื่องบิน ก็คิดว่ามันกำลังนั่งเครื่องบินอยู่ เป็นต้น
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เวลาที่เราดูมิวสิคเพลง เราก็ชอบคิดว่ามันต้องเป็นอย่างนี้แนๆ ต้องเป็นอย่างนั้นสิ ผู้หญิงคนนี้ต้องวิ่งหนีไปแน่ๆ เหมือนเราคิดเหตุการณ์ต่างๆ ไปล่วงหน้าตามความคิด ความรู้สึกของตัวเราเอง สิ่งเหล่านี้เหมือนกับว่าเราเคยเจอ เคยเห็นมา ก็เลยคิดว่าต้องเป็นอย่างนี้
ตัวอย่าง ตัวเองเป็นคนที่ชอบมองขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วมองก้อนเมฆเป็นรูปตสัตว์ตัวนั้นบ้าง ตัวนี้บ้าง เช่น มองเป็นรูปสุนัขแต่ว่ามีงวงช้างบ้าง พอเอามาผสมกัน มันก็เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่ง แล้วพอมองก้อนนู้นก้อนนี้มันก็มองเป็นรูปร่างต่างๆ พอเอามารวมกัน คิดจนเป็นเรื่องราว คือสัตว์ตัวที่พูดไว้ว่าเป็นสุนัขแต่มีงวงอยู่บนก้อนเมฆทรงหนึ่งที่รูปร่างคล้ายๆเครื่องบิน ก็คิดว่ามันกำลังนั่งเครื่องบินอยู่ เป็นต้น
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เวลาที่เราดูมิวสิคเพลง เราก็ชอบคิดว่ามันต้องเป็นอย่างนี้แนๆ ต้องเป็นอย่างนั้นสิ ผู้หญิงคนนี้ต้องวิ่งหนีไปแน่ๆ เหมือนเราคิดเหตุการณ์ต่างๆ ไปล่วงหน้าตามความคิด ความรู้สึกของตัวเราเอง สิ่งเหล่านี้เหมือนกับว่าเราเคยเจอ เคยเห็นมา ก็เลยคิดว่าต้องเป็นอย่างนี้
Tuesday, September 4, 2007
แนวคิดสัญวิทยาและการสร้างความหมาย (Semiology and Signification)
สัญวิทยา เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบของสัญลักษณ์ ที่ปรากฏอยู่ในความคิดของมนุษย์ อันถือเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวของเรา สัญลักษณ์อาจจะได้แก่ ภาษา รหัส สัญญาณ เครื่องหมาย ฯลฯ หรือหมายถึงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความหมายแทนของจริง ตัวจริง ในตัวบทและในบริบทหนึ่งๆ
การนำทฤษฎีสัญวิทยามาใช้ในการศึกษาการสื่อสารของมนุษย์ ถือเป็นการศึกษาในแนวใหม่ และเป็นจุดเน้นที่ต่างไปจากการศึกษาดั้งเดิมที่มุ่งศึกษาการสื่อสารแบบเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องอยู่กับสาร ช่องทาง เครื่องส่ง ผู้รับ เสียงรบกวน และการย้อนกลับ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการสื่อสาร
สัญวิทยาเป็นทฤษฎีที่นำมาอธิบายการสื่อสารของมนุษย์ว่า การสื่อสารคือจุดกำเนิดของความหมาย ซึ่งการศึกษาแนวนี้จะไม่สนใจความล้มเหลวของการสื่อสาร และไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลและความถูกต้อง แต่เป็นแนวทางการศึกษาเชิงสังคมหรือความแตกต่างของวัฒนธรรมระหว่างผู้ให้และผู้รับสาร ตลอดจนความหลากหลายของความหมายภายในระบบภาษา วัฒนธรรม และความความเป็นจริงที่ไม่สามารถแสดงผลเป็นลูกศรหรือเป็นเส้นตรงของกระแสการไหลของข่าวสาร แต่เป็นการศึกษาเชิงโครงสร้าง โดยมุ่งความสนใจไปที่การวิเคราะห์โครงสร้างที่กลุ่มความสัมพันธ์ที่ทำให้สาร หมายถึง บางสิ่งที่มันสร้างเครื่องหมายบนกระดาษ หรือเสียง ไปยังสารที่จะถูกส่งออกไปในการสื่อสารแต่ละครั้ง ดังนั้นการศึกษาแนวสัญวิทยานี้ถือว่าตัวกำหนดของการสื่อสารขึ้นอยู่กับสังคมและสิ่งรอบตัวบนโลกของมนุษย์ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับกระบวนการของการสื่อสาร แต่ระบบสัญญะทำการควบคุมการสร้างความหมายของตัวบทให้เป็นไปอย่างมีความสลับซับซ้อนอย่างแฝงเร้น และต้องขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละวัฒนธรรม
Saussure แบ่งสัญญะออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ตัวหมาย ( Signifier) เป็นรูปแบบทางกายภาพของสัญลักษณ์ เช่น คำที่ถูกเขียน เส้นต่างๆ ในหน้ากระดาษที่ก่อให้เกิดภาพวาด รูปภาพ หรือเสียง ส่วนที่สองคือ ตัวหมายถึง (Signified) คือบริบทภายในใจที่ถูกหมายถึงโดยตัวหมาย ดังนั้น คำว่า ต้นไม้ ไม่จำเป็นต้องเป็นต้นไม้ที่เฉพาะเจาะจง แต่หมายถึงบริบทที่ถูกสร้างขึ้งทางวัฒนธรรมว่าคือความเป็นต้นไม้ กระบวนการทั้งหมดนี้เราเรียกว่า การสร้างความหมาย
การศึกษาในเชิงสัญญะให้ความสำคัญกับการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวหมายกับตัวหมายถึง เพื่อดูว่าความหมายถูกสร้างขึ้นและถูกถ่ายทอดออกมาอย่างไร โดยนำเอาตัวบทมาวิเคราะห์เพื่อดูว่าตัวหมายนั้นสร้างความหมายอย่างไร
ขั้นตอนในการแสดงความหมาย 2 ระดับ คือ
ระดับแรกเป็นการตีความตามความหมายตรง (Denotation)
การตีความตามความหมายตรง เป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับความจริงตามธรรมชาติ เป็นการอ้างถึงสามัญสำนึกหรือความหมายที่ปรากฎแจ่มแจ้งอยู่แล้วของสัญญะ (Sign) และความสัมพันธ์ของสัญญะกับสิ่งที่กล่าวถึงในความหมายที่ชัดแจ้งของสัญญะ เช่น ภาพของอาคารใดอาคารหนึ่ง ก็แสดงว่าเป็นอาคารนั้น
ระดับที่สอง เป็นการตีความหมายโดยนัยแฝง (Connotation)
การตีความหมายในขั้นนี้จะเป็นการตีความหมายในระดับที่มีปัจจัยทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยซึ่ง ไม่ได้เกิดจากตัวของสัญญะเอง เป็นการอธิบายถึงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสัญญะกระทบกับความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้ใช้และคุณค่าทางวัฒนธรรมของเขา ซึ่งสัญญะในขั้นนี้จะทำหน้าที่ 2 ประการ คือ ถ่ายทอดความหมายโดยนัยแฝง และถ่ายทอดความหมายในลักษณะมายาคติ (Myths)
Barthes เรียกกระบวนการในการเปลี่ยนแปลง ลดทอน ปกปิด บิดเบือนฐานะการเป็นสัญญะของสรรพสิ่งในสังคมให้กลายเป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นสิ่งปกติธรรมดา หรือเป็นสิ่งที่มีบทบาท
การนำทฤษฎีสัญวิทยามาใช้ในการศึกษาการสื่อสารของมนุษย์ ถือเป็นการศึกษาในแนวใหม่ และเป็นจุดเน้นที่ต่างไปจากการศึกษาดั้งเดิมที่มุ่งศึกษาการสื่อสารแบบเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องอยู่กับสาร ช่องทาง เครื่องส่ง ผู้รับ เสียงรบกวน และการย้อนกลับ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการสื่อสาร
สัญวิทยาเป็นทฤษฎีที่นำมาอธิบายการสื่อสารของมนุษย์ว่า การสื่อสารคือจุดกำเนิดของความหมาย ซึ่งการศึกษาแนวนี้จะไม่สนใจความล้มเหลวของการสื่อสาร และไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลและความถูกต้อง แต่เป็นแนวทางการศึกษาเชิงสังคมหรือความแตกต่างของวัฒนธรรมระหว่างผู้ให้และผู้รับสาร ตลอดจนความหลากหลายของความหมายภายในระบบภาษา วัฒนธรรม และความความเป็นจริงที่ไม่สามารถแสดงผลเป็นลูกศรหรือเป็นเส้นตรงของกระแสการไหลของข่าวสาร แต่เป็นการศึกษาเชิงโครงสร้าง โดยมุ่งความสนใจไปที่การวิเคราะห์โครงสร้างที่กลุ่มความสัมพันธ์ที่ทำให้สาร หมายถึง บางสิ่งที่มันสร้างเครื่องหมายบนกระดาษ หรือเสียง ไปยังสารที่จะถูกส่งออกไปในการสื่อสารแต่ละครั้ง ดังนั้นการศึกษาแนวสัญวิทยานี้ถือว่าตัวกำหนดของการสื่อสารขึ้นอยู่กับสังคมและสิ่งรอบตัวบนโลกของมนุษย์ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับกระบวนการของการสื่อสาร แต่ระบบสัญญะทำการควบคุมการสร้างความหมายของตัวบทให้เป็นไปอย่างมีความสลับซับซ้อนอย่างแฝงเร้น และต้องขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละวัฒนธรรม
Saussure แบ่งสัญญะออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ตัวหมาย ( Signifier) เป็นรูปแบบทางกายภาพของสัญลักษณ์ เช่น คำที่ถูกเขียน เส้นต่างๆ ในหน้ากระดาษที่ก่อให้เกิดภาพวาด รูปภาพ หรือเสียง ส่วนที่สองคือ ตัวหมายถึง (Signified) คือบริบทภายในใจที่ถูกหมายถึงโดยตัวหมาย ดังนั้น คำว่า ต้นไม้ ไม่จำเป็นต้องเป็นต้นไม้ที่เฉพาะเจาะจง แต่หมายถึงบริบทที่ถูกสร้างขึ้งทางวัฒนธรรมว่าคือความเป็นต้นไม้ กระบวนการทั้งหมดนี้เราเรียกว่า การสร้างความหมาย
การศึกษาในเชิงสัญญะให้ความสำคัญกับการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวหมายกับตัวหมายถึง เพื่อดูว่าความหมายถูกสร้างขึ้นและถูกถ่ายทอดออกมาอย่างไร โดยนำเอาตัวบทมาวิเคราะห์เพื่อดูว่าตัวหมายนั้นสร้างความหมายอย่างไร
ขั้นตอนในการแสดงความหมาย 2 ระดับ คือ
ระดับแรกเป็นการตีความตามความหมายตรง (Denotation)
การตีความตามความหมายตรง เป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับความจริงตามธรรมชาติ เป็นการอ้างถึงสามัญสำนึกหรือความหมายที่ปรากฎแจ่มแจ้งอยู่แล้วของสัญญะ (Sign) และความสัมพันธ์ของสัญญะกับสิ่งที่กล่าวถึงในความหมายที่ชัดแจ้งของสัญญะ เช่น ภาพของอาคารใดอาคารหนึ่ง ก็แสดงว่าเป็นอาคารนั้น
ระดับที่สอง เป็นการตีความหมายโดยนัยแฝง (Connotation)
การตีความหมายในขั้นนี้จะเป็นการตีความหมายในระดับที่มีปัจจัยทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยซึ่ง ไม่ได้เกิดจากตัวของสัญญะเอง เป็นการอธิบายถึงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสัญญะกระทบกับความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้ใช้และคุณค่าทางวัฒนธรรมของเขา ซึ่งสัญญะในขั้นนี้จะทำหน้าที่ 2 ประการ คือ ถ่ายทอดความหมายโดยนัยแฝง และถ่ายทอดความหมายในลักษณะมายาคติ (Myths)
Barthes เรียกกระบวนการในการเปลี่ยนแปลง ลดทอน ปกปิด บิดเบือนฐานะการเป็นสัญญะของสรรพสิ่งในสังคมให้กลายเป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นสิ่งปกติธรรมดา หรือเป็นสิ่งที่มีบทบาท
Tuesday, August 28, 2007
การคิด (Thinking)
การคิด เหมือนการเรียงหินที่กระจัดกระจาย ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยนำหินแต่ละก้อน มาประกอบกันในแต่ละที่ อย่างเหมาะสม "การเรียงหิน" เปรียบได้กับ "การจัดระเบียบข้อมูล" ที่เราได้ใช้การคิดไตร่ตรองอย่าง ละเอียดรอบคอบ ลึกซึ้ง และมีระบบระเบียบ คนที่ "คิดเป็น" จะสามารถจัดข้อมูลให้เรียงกัน อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ได้ความคิดที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับหิน ที่ได้รับการจัดวางเรียงอย่างเหมาะสม ย่อมกลายเป็นอาคารที่งดงามได้ในที่สุด ในขณะเดียวกัน คนที่ "คิดไม่เป็น" ก็เหมือนกันคนที่โยนก้อนหินมากองๆ รวมกัน หรือจัดอย่างสะเปะสะปะ ไม่รู้ว่า ก้อนใดควรอยู่ที่ใด ความคิดที่ออกมา จึงไม่ได้เป็นความคิดที่มีความชัดเจน และเป็นระบบระเบียบ
ความสามารถในการคิด ทำให้มนุษย์มีความเป็นมนุษย์ ที่มีความแตกต่างจากสัตว์ สามารถแก้ปัญหาให้กับตนเองได้ สามารถคิดสร้างสรรค์เครื่องทุ่นแรง สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ได้ สามารถสร้างความสุข ให้กับตนเอง และปกป้องตนเองให้พ้นจากภัยธรรมชาติได้ การคิด ทำให้คนไม่ถูกหลอก ด้วยการตีความ หรือยอมรับการตีความข้อมูลอย่างผิดๆ และไม่เชื่อถือสิ่งต่างๆ อย่างง่ายๆ แต่จะวินิจฉัยไตร่ตรอง และพิสูจน์ความจริง อย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจเลือก
การเรียงหินสะเปะสะปะ เพราะคิดไม่เป็น
การคิดของคนในสังคมไทย เป็นการคิดที่จะสร้างปัญหา มากกว่าก่อให้เกิดการพัฒนา ตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล จนถึงแม้บางครั้ง ระดับผู้นำทางความคิดในสังคม สังคมไทยจึงอยู่ในภาวะอ่อนแอทางความคิด
เราเป็นคนที่เชื่อง่าย ถูกหลอกง่าย เพราะเราไม่คิด หรือคิดไม่เป็น เรามักเชื่อตามบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้อาวุโส นักวิชาการ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ หรือไม่ก็เชื่อตามโชคชะตา หรือคิดไปเองว่า ใช่แน่ๆ หลายครั้งเราจึงถูกหลอกทางความคิดอย่างง่ายๆ เพราะไม่เรียนรู้ที่จะเสาะแสวงหาข้อเท็จจริง ของสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง และไม่พยายามตั้งคำถาม กับสิ่งที่ควรสงสัย
เราตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ผิด เพราะคิดผิด เราไม่ได้คิดวิเคราะห์ และคิดเปรียบเทียบ ผลดี ผลเสีย อย่างรอบคอบ ขาดการคิดอย่างบูรณาการ และการคิดเชิงอนาคต จึงทำให้คิดผิด โดยคิดมุ่งหวังเพียงผลประโยชน์เฉพาะหน้า หรือคิดอย่างไม่สมดุล และเข้าข้างตนเองอย่างอคติ บางครั้งเราเห็นคนอื่นๆ ทำบางสิ่งได้ ก็มักคิดว่า สิ่งนั้นถูกต้อง และสมควรเลียนแบบ เช่น ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เรามุ่งรวยแบบเก็งกำไร ทั้งเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ และตลาดหุ้น โดยไม่คำนึงถึงผลเสีย ซึ่งที่หากวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริง ย่อมเข้าใจได้ว่า มันน่าจะเกิดปัญหาขึ้นในที่สุด เป็นต้น
ความสามารถในการคิด ทำให้มนุษย์มีความเป็นมนุษย์ ที่มีความแตกต่างจากสัตว์ สามารถแก้ปัญหาให้กับตนเองได้ สามารถคิดสร้างสรรค์เครื่องทุ่นแรง สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ได้ สามารถสร้างความสุข ให้กับตนเอง และปกป้องตนเองให้พ้นจากภัยธรรมชาติได้ การคิด ทำให้คนไม่ถูกหลอก ด้วยการตีความ หรือยอมรับการตีความข้อมูลอย่างผิดๆ และไม่เชื่อถือสิ่งต่างๆ อย่างง่ายๆ แต่จะวินิจฉัยไตร่ตรอง และพิสูจน์ความจริง อย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจเลือก
การเรียงหินสะเปะสะปะ เพราะคิดไม่เป็น
การคิดของคนในสังคมไทย เป็นการคิดที่จะสร้างปัญหา มากกว่าก่อให้เกิดการพัฒนา ตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล จนถึงแม้บางครั้ง ระดับผู้นำทางความคิดในสังคม สังคมไทยจึงอยู่ในภาวะอ่อนแอทางความคิด
เราเป็นคนที่เชื่อง่าย ถูกหลอกง่าย เพราะเราไม่คิด หรือคิดไม่เป็น เรามักเชื่อตามบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้อาวุโส นักวิชาการ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ หรือไม่ก็เชื่อตามโชคชะตา หรือคิดไปเองว่า ใช่แน่ๆ หลายครั้งเราจึงถูกหลอกทางความคิดอย่างง่ายๆ เพราะไม่เรียนรู้ที่จะเสาะแสวงหาข้อเท็จจริง ของสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง และไม่พยายามตั้งคำถาม กับสิ่งที่ควรสงสัย
เราตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ผิด เพราะคิดผิด เราไม่ได้คิดวิเคราะห์ และคิดเปรียบเทียบ ผลดี ผลเสีย อย่างรอบคอบ ขาดการคิดอย่างบูรณาการ และการคิดเชิงอนาคต จึงทำให้คิดผิด โดยคิดมุ่งหวังเพียงผลประโยชน์เฉพาะหน้า หรือคิดอย่างไม่สมดุล และเข้าข้างตนเองอย่างอคติ บางครั้งเราเห็นคนอื่นๆ ทำบางสิ่งได้ ก็มักคิดว่า สิ่งนั้นถูกต้อง และสมควรเลียนแบบ เช่น ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เรามุ่งรวยแบบเก็งกำไร ทั้งเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ และตลาดหุ้น โดยไม่คำนึงถึงผลเสีย ซึ่งที่หากวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริง ย่อมเข้าใจได้ว่า มันน่าจะเกิดปัญหาขึ้นในที่สุด เป็นต้น
Tuesday, July 3, 2007
THINKING
ความคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น การที่ตัวเองจะลดน้ำหนักเพราะอ้วนนั้นต้องทำเช่นไร ก็ต้องวิเคราะห์ว่าเหตุที่ทำให้อ้วนเพราะอะไร ความอ้วนมีด้วยกันหลายสาเหตุคือกินเก่ง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันมาก หรือการดื่มน้ำอัดลมเยอะ หรือการไม่ออกกำลังกาย หรือเป็นกรรมพันธุ์ เป็นต้น ถ้าสืบค้นไปเรื่อยๆ จะพบว่าสาเหตุที่อ้วนเป็นเพราะว่าเราทานแล้วไม่ออกกำลังกาย ดังนั้นวิธีลดความอ้วนก็คือการออกกำลังกายเยงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็จะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและบรรลุเป้ามายได้
ความคิดเชิงประยุกต์ การนำสิ่งหนึ่งไปใช้ในบริบทอื่นอย่างเหมาะสม เป็นการนำบางสิ่งไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การนำกระบวนความคิดในวิชา Understanding มาใช้กับวิชาอื่นๆ เป็นการนำกระบวนความคิดที่ต้องคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน คิดจากเปลือกข้างนอกที่เห็นจนไปถึงแก่นข้างใน มาปรับใช้กับวิชาอื่นๆ ได้ ที่ต้องเน้นการคิดให้มากๆ
ความคิดเชิงเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบชีวิตของตนเองเสมือนดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาจากน้ำได้ เพราะดอกบัวเปรียบเสมือนสติปัญญา ส่วนโคลนตมนั้นอยู่ด้านล่าง ติดพื้นดิน จึงเหมือนกับสติปัญญาของเราที่ตอนนี้ยังจมอยู่กับความคิดตัวเองอยู่ ยังคิดอะไรไม่ออก ไม่สามารถรับรู้อะไร เป็นการเปรียบเทียบสติปัญญาของตนกับดอกบัว ส่วนความโง่เขลาก็เหมือนโคลนตมที่ดึงขึ้นมาเท่าไรก็ดึงขึ้นมาไม่ได้
ความคิดเชิงมโนทัศน์ เป็นการคิดรวบยอด ตัวอย่างในปัจจุบันที่เน้นในเรื่องของความพอเพียง การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในยุคของโลกาภิวัฒน์ ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักการพัฒนาประเทศไทยไทยในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าได้อย่างสมดุลเทียบเท่ากับต่างชาติ ภายใต้การยึดหลักของความพอเพียง
ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ความคิดพัฒนาเรื่องต่างๆ เป็นการแก้ปัญหาด้วยแนวทางใหม่ สำหรับตัวเองเป็นคนตัวเล็ก และในโลกนี้ก็มีคนตัวเล็กอยู่มากมาย โดยเฉพาะเวลาขึ้นรถเมล์ สองแถว ที่ต้องโหน ถ้าเจอคันเล็กก็ดีไป แต่ถ้าเจอคันใหญ่ก็ซวยไป จะโหนยังไงละคนก็เยอะ แถมน้ำใจคนไทยตอนนี้ก็มีกันเยอะเหลือเกิน ถ้าตัวเองเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยงเพราะโหนไม่ค่อยถึง เลย
อยากให้ทำรถสำหรับคนตัวเล็กบ้าง
ความคิดเชิงวิพากษ์ ใช้พิจารณาเรื่องหนึ่งโดยตั้งคำถามที่ท้าทาย หรือโต้แย้งข้ออ้างนั้น ไม่เห็นคล้อยตามข้ออ้างที่ขาดหลักเหตุผล อย่างเช่นความคิดของตัวเองที่ว่า ไม่เห็นว่าการที่คนจะประสบความสำเร็จจะต้องเชื่อฟังพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่เสมอไป มีหลายคนที่ประสบความสำเจ มีอนาคตที่สวยงาม ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำตามคำสั่งของพ่อแม่ เค้าไม่ได้เรียนหมอตามที่พ่อแม่ต้องการเค้าเรียนเกี่ยวกับศิลปะ การออกแบบก็ประสบความสำเร็จได้ เป็นนักออกแบบที่มีชื่อเสียงได้ มันขึ้นอยู่กับตัวของเด็กเองมากกว่า แต่พ่อแม่ก็มีส่วนในความสำเร็จนั้น การเลี้ยงดู การเอาใจใส่ เป็นต้น การที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกทำในสิ่งที่อยากทำ ทำให้ลูกรู้สึกชอบ มีความสุขในสิ่งนั้น ดีกว่าไปบังคับทำให้ลูกอึดอัด กดดัน จนกลายเป็นประชดประชันแทน ยิ่งป็นการทำลายอนาคตของเด็กมากกว่า
ความคิดเชิงอนาคต แนวโน้วที่อาจเกิดในอนาคตโดยใช้หลักการคาดการณ์ จาการได้เรียนในคณะนี้ได้เรียนวิชาต่างๆ ที่ให้ใช้ความคิด เจาะลึกในเรื่องๆ นั้น ทำให้เป็นคนที่มีความรอบคอบมากขึ้น และถ้าเรายิ่งได้คิด และเรียไปเรื่อยๆ สะสมประสบการณ์เหล่านี้ ซึมซับมากขึ้น เราก็จะยิ่งเป็นคนที่มีเหตุผล มีความคิดที่เป็นหลักการ มีความรอบคอบทุกเรื่อง ไม่เป็นคนที่มองอะไรเพียงผิวเผิน ประเทศของเราก็จะเกิดเด็กที่คิดเป็นหลักการ เป็นเหตุผลมากขึ้น ไม่คิดเพียงใช้อารมณ์ของตนเป็นหลัก
ความคิดเชิงบูรณาการ เชื่อมโยงแนวคิดที่แยกส่วนกันให้เข้ากับเรื่องหลัก ให้แกนหลักมีความสมบูรณ์ขึ้น โดยมองภาพรวมหรือใช้ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วยเพื่อความสมบูรณ์
บูรณาการการเรียนการศึกษากับมนุษย์ การศึกษาจะทำให้มนุษย์เราเป็นมนุษย์มากขึ้น มนุษย์กับคนมีความหมายเหมือนกัน คือเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน มีสมองเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่คนนั้นไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี ถูกต้อง แต่มนุษย์สามารถแยกแยะความดีความชั่วได้ ดังนั้นถ้าคนเรามีการศึกษา มีความรู้ รู้ดี รู้ชั่ว รู้ว่าสิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ ก็จะยิ่งเพิ่มความเป็นมนุษย์ให้กับตนเองได้มากขึ้น
ความคิดเชิงกลยุทธ์ คิดอย่างรอบคอบ ละเอียด คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ขอยกตัวอย่างเพื่อนคนหนึ่งที่พยายามหาวิธีให้ตัวเองอยู่หอพัก เพราะตัวเองเหนื่อยกับการเดินทาง และมันก็เลิกค่อนข้างดึก เลยทำทีให้พ่อแม่สงสาร เพราะแม่ของเค้าเป็นคนขี้สงสารมากๆ เลยทำเป็นกลับบ้านดึก ทำเป็นเหนื่อยหมดแรง พอแม่เห็นก็สงสารลูก เลยยอมให้อยู่ มันอยู่ได้เพราะมันรู้แม่มันขี้สงสารและรักมันมาก วิธีนี้ไม่ค่อยดีหรอก แต่มันแค่จับจุดอ่อนของแม่มันได้เลยได้อยู่
ความคิดเชิงสังเคราะห์ ดึงองค์ประกอบต่างๆ มารวมกันภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้โดยกระบวนการผสมผสานองค์ประกอบต่างๆ อย่างกลมกลืน ตัวอย่างความคิดนี้ในความคิดตัวเองก็ขอยกเรื่องของการทำอาหาร
ยังไม่รู้หรอกว่าจะทำอะไรแต่ก็ซื้อของมา เป็นพวกอาหารสดทั่วไป เช่น ไข่ไก่ เนื้อหมู ไก่ น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล ผักสด หอม กระเทียม ฯลฯ แล้วก็คิดว่าจะประกอบของเหล่านี้ ปรุงเป็นอาหารอะไรดี ทำอะไรได้บ้าง และจะปรุงอย่างไร เป็นแบบทอด ผัด แกง ต้ม ปิ้ง ย่าง หรือว่านึ่งดี
ความคิดเชิงประยุกต์ การนำสิ่งหนึ่งไปใช้ในบริบทอื่นอย่างเหมาะสม เป็นการนำบางสิ่งไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การนำกระบวนความคิดในวิชา Understanding มาใช้กับวิชาอื่นๆ เป็นการนำกระบวนความคิดที่ต้องคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน คิดจากเปลือกข้างนอกที่เห็นจนไปถึงแก่นข้างใน มาปรับใช้กับวิชาอื่นๆ ได้ ที่ต้องเน้นการคิดให้มากๆ
ความคิดเชิงเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบชีวิตของตนเองเสมือนดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาจากน้ำได้ เพราะดอกบัวเปรียบเสมือนสติปัญญา ส่วนโคลนตมนั้นอยู่ด้านล่าง ติดพื้นดิน จึงเหมือนกับสติปัญญาของเราที่ตอนนี้ยังจมอยู่กับความคิดตัวเองอยู่ ยังคิดอะไรไม่ออก ไม่สามารถรับรู้อะไร เป็นการเปรียบเทียบสติปัญญาของตนกับดอกบัว ส่วนความโง่เขลาก็เหมือนโคลนตมที่ดึงขึ้นมาเท่าไรก็ดึงขึ้นมาไม่ได้
ความคิดเชิงมโนทัศน์ เป็นการคิดรวบยอด ตัวอย่างในปัจจุบันที่เน้นในเรื่องของความพอเพียง การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในยุคของโลกาภิวัฒน์ ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักการพัฒนาประเทศไทยไทยในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าได้อย่างสมดุลเทียบเท่ากับต่างชาติ ภายใต้การยึดหลักของความพอเพียง
ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ความคิดพัฒนาเรื่องต่างๆ เป็นการแก้ปัญหาด้วยแนวทางใหม่ สำหรับตัวเองเป็นคนตัวเล็ก และในโลกนี้ก็มีคนตัวเล็กอยู่มากมาย โดยเฉพาะเวลาขึ้นรถเมล์ สองแถว ที่ต้องโหน ถ้าเจอคันเล็กก็ดีไป แต่ถ้าเจอคันใหญ่ก็ซวยไป จะโหนยังไงละคนก็เยอะ แถมน้ำใจคนไทยตอนนี้ก็มีกันเยอะเหลือเกิน ถ้าตัวเองเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยงเพราะโหนไม่ค่อยถึง เลย
อยากให้ทำรถสำหรับคนตัวเล็กบ้าง
ความคิดเชิงวิพากษ์ ใช้พิจารณาเรื่องหนึ่งโดยตั้งคำถามที่ท้าทาย หรือโต้แย้งข้ออ้างนั้น ไม่เห็นคล้อยตามข้ออ้างที่ขาดหลักเหตุผล อย่างเช่นความคิดของตัวเองที่ว่า ไม่เห็นว่าการที่คนจะประสบความสำเร็จจะต้องเชื่อฟังพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่เสมอไป มีหลายคนที่ประสบความสำเจ มีอนาคตที่สวยงาม ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำตามคำสั่งของพ่อแม่ เค้าไม่ได้เรียนหมอตามที่พ่อแม่ต้องการเค้าเรียนเกี่ยวกับศิลปะ การออกแบบก็ประสบความสำเร็จได้ เป็นนักออกแบบที่มีชื่อเสียงได้ มันขึ้นอยู่กับตัวของเด็กเองมากกว่า แต่พ่อแม่ก็มีส่วนในความสำเร็จนั้น การเลี้ยงดู การเอาใจใส่ เป็นต้น การที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกทำในสิ่งที่อยากทำ ทำให้ลูกรู้สึกชอบ มีความสุขในสิ่งนั้น ดีกว่าไปบังคับทำให้ลูกอึดอัด กดดัน จนกลายเป็นประชดประชันแทน ยิ่งป็นการทำลายอนาคตของเด็กมากกว่า
ความคิดเชิงอนาคต แนวโน้วที่อาจเกิดในอนาคตโดยใช้หลักการคาดการณ์ จาการได้เรียนในคณะนี้ได้เรียนวิชาต่างๆ ที่ให้ใช้ความคิด เจาะลึกในเรื่องๆ นั้น ทำให้เป็นคนที่มีความรอบคอบมากขึ้น และถ้าเรายิ่งได้คิด และเรียไปเรื่อยๆ สะสมประสบการณ์เหล่านี้ ซึมซับมากขึ้น เราก็จะยิ่งเป็นคนที่มีเหตุผล มีความคิดที่เป็นหลักการ มีความรอบคอบทุกเรื่อง ไม่เป็นคนที่มองอะไรเพียงผิวเผิน ประเทศของเราก็จะเกิดเด็กที่คิดเป็นหลักการ เป็นเหตุผลมากขึ้น ไม่คิดเพียงใช้อารมณ์ของตนเป็นหลัก
ความคิดเชิงบูรณาการ เชื่อมโยงแนวคิดที่แยกส่วนกันให้เข้ากับเรื่องหลัก ให้แกนหลักมีความสมบูรณ์ขึ้น โดยมองภาพรวมหรือใช้ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วยเพื่อความสมบูรณ์
บูรณาการการเรียนการศึกษากับมนุษย์ การศึกษาจะทำให้มนุษย์เราเป็นมนุษย์มากขึ้น มนุษย์กับคนมีความหมายเหมือนกัน คือเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน มีสมองเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่คนนั้นไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี ถูกต้อง แต่มนุษย์สามารถแยกแยะความดีความชั่วได้ ดังนั้นถ้าคนเรามีการศึกษา มีความรู้ รู้ดี รู้ชั่ว รู้ว่าสิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ ก็จะยิ่งเพิ่มความเป็นมนุษย์ให้กับตนเองได้มากขึ้น
ความคิดเชิงกลยุทธ์ คิดอย่างรอบคอบ ละเอียด คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ขอยกตัวอย่างเพื่อนคนหนึ่งที่พยายามหาวิธีให้ตัวเองอยู่หอพัก เพราะตัวเองเหนื่อยกับการเดินทาง และมันก็เลิกค่อนข้างดึก เลยทำทีให้พ่อแม่สงสาร เพราะแม่ของเค้าเป็นคนขี้สงสารมากๆ เลยทำเป็นกลับบ้านดึก ทำเป็นเหนื่อยหมดแรง พอแม่เห็นก็สงสารลูก เลยยอมให้อยู่ มันอยู่ได้เพราะมันรู้แม่มันขี้สงสารและรักมันมาก วิธีนี้ไม่ค่อยดีหรอก แต่มันแค่จับจุดอ่อนของแม่มันได้เลยได้อยู่
ความคิดเชิงสังเคราะห์ ดึงองค์ประกอบต่างๆ มารวมกันภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้โดยกระบวนการผสมผสานองค์ประกอบต่างๆ อย่างกลมกลืน ตัวอย่างความคิดนี้ในความคิดตัวเองก็ขอยกเรื่องของการทำอาหาร
ยังไม่รู้หรอกว่าจะทำอะไรแต่ก็ซื้อของมา เป็นพวกอาหารสดทั่วไป เช่น ไข่ไก่ เนื้อหมู ไก่ น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล ผักสด หอม กระเทียม ฯลฯ แล้วก็คิดว่าจะประกอบของเหล่านี้ ปรุงเป็นอาหารอะไรดี ทำอะไรได้บ้าง และจะปรุงอย่างไร เป็นแบบทอด ผัด แกง ต้ม ปิ้ง ย่าง หรือว่านึ่งดี
Subscribe to:
Posts (Atom)